ARTWORKS ARTISTS BOOKS EXHIBITION BLOG
Talk with Artist

เรื่องเล่าของมาดามฮอร์ส ในนิทรรศการ เรื่องเล่าของมาดามฮอร์ส การแสดงเดี่ยวของกันจณา ดำโสภี

Talk with Artist

เรื่องเล่าของมาดามฮอร์ส ในนิทรรศการ เรื่องเล่าของมาดามฮอร์ส การแสดงเดี่ยวของกันจณา ดำโสภี


กันจณา ดำโสภี มีประวัติการแสดงงานมากกว่า 30 ครั้ง ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ไม่ว่าเป็น อิตาลี โรมาเนีย โปแลนด์ อเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาอิลลัสเตชันอาร์ตที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

เรื่องเล่าของมาดามฮอร์สเริ่มต้นจากการเข้ามามีบทบาทของม้าคู่แม่ลูกจับพลัดจับผลูเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว ก่อนจะนำพาและคลี่คลายสู่เป็นธรรมชาติของสิ่งรอบตัวที่ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เส้นสายใยความรักความผูกพัน 


Xspace: รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ

อาจารย์กัน: กันจณา ดำโสภี นะคะ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาอิลลัสเตชันอาร์ตที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 


Xspace: จุดเริ่มต้นของนิทรรศการชุดนี้

อาจารย์กัน: เรื่องราวของ มาดามฮอร์ส เราได้มีการอยู่บ้านในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็ได้มีม้าแม่ลูกอ่อน 2 ตัว จริง ๆ แล้วเราไม่ได้รู้ว่าม้าเนี่ยมีลูกมาตอนที่ได้ม้ามา พอเลี้ยงไปเรื่อย ๆ เกือบปีว่าในตัวม้าที่ได้มามันดันมีลูกอยู่ในท้อง เราเลี้ยงมันด้วยความรู้สึกว่าเราคงต้องให้อาหารมัน ต้องเลี้ยงมันให้สมบูรณ์ เลี้ยงมันด้วยความรู้สึกว่ามันต้องได้กินตามเวลา เราไม่รู้เลยว่าม้าที่ได้มามันดันมีลูกมากับท้อง มันดูสมบูรณ์ดูอ้วน ซึ่งจริง ๆ ตรงนี้แหละที่เราอารมณ์เรามาตัดสินหรือว่าเอาความรู้สึกเราเข้าไปคิดว่าม้ามันสมบูรณ์โดยที่เราไม่รู้ว่าโดยธรรมชาติม้าที่มีลูกเนี้ยจะเป็นยังไง มันก็เหมือนกับว่าเราเอาความเป็นตัวเราไปตัดสินกับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ทีนี้พอได้ตัวลูกม้ามามันคือสิ่งที่เกิดมาของม้าตัวใหม่มันเป็นความน่ารักเป็นความสุขอย่างหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราคิดเนี่ยมันเป็นการเอาความรู้สึกไปตัดสินหรือว่าไปเข้าข้างตัวเอง




Xspace: ม้า จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการใช่ไหมคะ

อาจารย์กัน: ใช่ ๆ มันก็กลายเป็นจุดเริ่มต้น เหมือนเราก็คิดว่าตัวม้าเองก็เรื่องเล่าของตัวม้าเอง พอดีความเป็นม้าด้วยนะที่มันเป็นแบบเพศแม่ที่มีลูกมาด้วย เราก็คิดถึงการเปรียบเปรยให้กับความเป็นผู้หญิง ความเป็นแม่ ที่ต้องดูแลลูกม้า แล้วก็สร้างเป็นเหมือน story ขึ้นมา เป็นแม่ เป็นมาดามส์ เป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความงดงาม มีความเป็นแม่ มีความอ่อนโยน ความน่ารัก

 

Xspace: ในนิทรรศการอะไรคือจุดที่บ่งบอกว่าคือ มาดามฮอร์ส ที่สุด

อาจารย์กัน: จริง ๆ มันมีหลาย ๆ จุดที่เชื่อมโยงเนาะ มันก็มีความเป็นผู้หญิง ความเป็นม้าเอง แล้วก็ในส่วนที่เป็นตัวผลไม้มันคือทุกอย่างที่รวมกันในความเป็นส่วนหนึ่งของ มาดามฮอร์ส 



Xspace: ในนิทรรศการครั้งนี้จะสังเกตุเห็นว่ามีความแตกต่างทางด้านของเทคนิคที่หลากหลาย

อาจารย์กัน: คืองานในครั้งนี้ก็จะมีการวางแผนของตัว Medium ตัวสื่อการที่จะนำเสนอนะคะ ว่าจริง ๆ แล้วการที่จะเล่าเรื่องอะไรหลาย ๆ ส่วนมันจะมีสื่อเฉพาะของมัน คือคิดว่าตัวเองปลดล็อคด้านการทำงานว่าอาจจะไม่ได้ติดอยู่ที่เดิมทที่เกี่ยวกับด้านภาพพิมพ์ก็จะมีความเป็น 2 มิติ จะเข้าใจเรื่องของระบบเรื่องของความซับซ้อนของการพิมพ์งาน การวางแผน ทีนี้พอมันมาอยู่ในชุดงานนี้ก็คิดว่าเรื่องที่มันเล่ามีความหลากหลายละกันเลยทำให้รู้สึกว่าทุกเทคนิคมัสามารถที่จะแสดงเป็น มาดามฮอร์ส ได้ชัดเจนในเรื่อง ๆ นั้น อย่างเช่นตัว 3 มิติ ตัวผลไม้ พอเราทำเป็น 2 มิติแล้วเราก็อยากจะมองเห็นมวลของผลไม้ ก็เลยออกมาเป็นงานในลักษณะ 3D หรือว่างานที่เป็นหล่อเรซิ่น และในส่วนงานภาพพิมพ์ที่เป็น 2 มิติซึ่งใช้เทคนิคใช้ภาพพิมพ์โลหะ และภาพพิมพ์ริโซกราฟ ยังหลงเสน่ห์ของเส้นที่พูดถึงเรื่องของธรรมชาติ เส้นง่าย ๆ ที่จะเล่าเรื่องราวง่าย ๆ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมความเป็นภาพพิมพ์ ส่วนในเรื่องของ ภาพพิมพ์ริโซกราฟ คิดว่าเทคนิคนี้ความพิเศษ ความน่าสนใจน่าจะเป็นเรื่องสี และตัวเรื่องสีเนี้ยก็จะสะท้อนเรื่องราวของผู้หญิงมันมีความหลากหลายของสีสันในชีวิต เพระฉะนั้นในแต่ละเทคนิคมันเอื้อต่อการที่จะแสดงออกถึงการเป็นมาดามฮอร์สได้ดี





Xspace: ผลงานแต่ละชิ้นมีรายละเอียดมาก ใช้เวลาในการทำนานไหม

อาจารย์กัน: ในส่วนที่เป็น 2 มิติงานภาพพิมพ์เนี้ย อาจจะเห็นว่าเป็นภาพเล็ก ๆ เนาะ แต่ไม่ว่าจะเป็นภาพเล็กหรือใหญ่มันก็จะมีเรื่องของการวางแผน เรื่องของการทำซ้อนกันของสี อยากให้ตัวเส้นและสีที่มีประมาน 1-3 สี เล่าเรื่องราวของมันเอง ส่วนโซกราฟพอเป็นสีก็อยากให้เห็นถึงการทับซ้อนกันของสี พูดถึงเรื่องของเวลาจริง ๆ แล้วมันพอกัน

 

Xspace: คิดว่าอะไรคือจุดเด่นที่สุดในนิทรรศการนี้

อาจารย์กัน: คือที่ตั้งใจไว้คือชิ้นด้านหลังนี้ ที่พยายามจะบอกส่วนประกอบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตัวที่บอกลักษณะมาดามฮอร์ส ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้เป็นการเก็บเรื่องราวต่าง ๆในช่วงเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน ทุก ๆ อย่างก็จะมีเรื่องเล่าเฉพาะของมัน แม้กระทั้งตัวงู และตัวไฟ 



Xspace: ในนิทรรศการครั้งนี้ส่วนใดคิดว่ายากที่สุด

อาจารย์กัน: คือจริง ๆ ทุกงานก็มีความยากที่เราต้องท้าทายไปกับมันเหมือนกัน เพราะว่าอย่างที่บอกคือทำงาน 2 มิติมาตลอดพอทีนี้ได้มาทำ 3 มิติด้วยทำงานที่ต้องคิดถึงเรื่องปริมาตรนึกถึงการมองรอบด้านว่าตรงนี้มันคือความยากของแต่ละชิ้นงาน

 

Xspace: อาจารย์คิดว่าเทคนิคใดที่จะต่อยอดออกไปได้อีก

อาจารย์กัน: ตอนนี้ก็คู่ขนาดนะระหว่างงานที่เป็น 2 มิติ กับงานที่เป็นภาพพิมพ์ เพราะคิดว่างานที่เป็นริโซกราฟเหมือนเราทำตัว 2 มิติได้จากงานเพ้นท์ด้วยรูปแบบด้วยหน้าตาไ ถ้าเราไปจัดการเป็นงานภาพพิมพ์มันก็จะมีเสน่ห์ ภาพ ๆ หนึ่งก็จะมีเสน่ห์ของมันทั้งที่เป็นภาพเดียวกัน



Xspace: ถ้าไม่ได้เรียด้านศิลปะมา แล้วมชมนิทรรศการนี้จะทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้นไหม

อาจารย์กัน: ถ้าเข้ามาอย่างน้อยยังไม่ได้ไปอ่าน statement หรืออะไรก็ตาม ความรู้สึกแรกก็น่าจะเป็นความสุขมันง่ายต่อความที่จะเข้าใจ ง่ายต่อการที่จะสัมผัสกับเรื่อที่มันธรรมดามาก เรื่องที่เป็นปกติ มันไม่ได้ต้องการความซับซ้อนในเรื่องของที่ต้องลึกซึ่งกับการตีค่าตีความหมายอะไร มันคือความง่าย มองเห็นผลไม้ มองเห็นม้า มองเห็นรูปทรงที่มันแบบ หนึ่ง สอง สาม ได้เลย โดยที่ไม่ต้องกลับไปใช้ความคิดหลังจากดูงาน


Xspace: สุดท้ายแล้วช่วยฝากนิทรรศการครั้งนี้ได้ไหมคะ

อาจารย์กัน: สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ มาดามฮอร์ส ก็เป็นเรื่องเล่า story เรื่องหนึ่งที่ส่งมอบความสุข เป็นนิทรรศการที่อยากให้ทุกคนได้รับประสบการณ์ หรือว่าอยากให้คนที่เข้ามาดูงานครั้งนี้แล้ว “อาจจะ” อาจจะนะว่าย้อนกลับไปค้นหาความสุขของแต่ละคนได้ยังไง ซึ่งมันก็เชื่อว่าทุกคนมันมีมุมของความสุขของตัวเองแต่บางทีเราอาจจะไม่ได้นั่ง และคิดในแต่ละวันว่าตัวเองมีเรื่องราวของความที่เรียบง่ายยังไง

 






“Madame Horse's Tale” first solo exhibition by Kunjana Dumsopee

At Mini Xspace Gallery FL.1, Bangkok.

July 27 – September 30, 2024 (Mon – Sat, 10 AM - 5 PM)

#MadameHorseTale #xspaceexhibition #xspacegallery


 






More to explore